การค้นหาแบบครอบคลุมทั้งหมดยังไม่ได้เปิดใช้งาน
ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Blog entry by 33dc3a9f-3429-40f0-8fc8-d04ea7cad623 Mula-X

ไขข้อข้องใจ... ดอกเบี้ยทบต้น และไม่ทบต้น ต่างกันอย่างไร?

ไขข้อข้องใจ... ดอกเบี้ยทบต้น และไม่ทบต้น ต่างกันอย่างไร?

คำว่า "ดอกเบี้ย" นั้นเป็นคำที่เรามักจะได้ยิน ได้ฟัง กันจนติดหูมาตลอด แต่ทว่ามีน้อยคนเท่านั้นที่จะทราบถึงรายละเอียด และประโยชน์อันมหาศาลจากผลตอบแทบรูปแบบนี้ ซึ่งพูดได้เต็มปากเลยว่าหากรู้เรื่องดอกเบี้ยอย่างลึกซึ้งแล้วจะส่งผลดีต่ออนาคตของเราอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเหล่ามือใหม่ที่เพิ่งเบนเข็มมาสนใจการทำให้เงินที่มีอยู่ในมืองอกเงย รับรองได้เลยว่าหลังจากอ่านบทความนี้แล้ว เป้าหมายที่จะมีเงินก้อนนั้นจะไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป!

โดยสำหรับเนื้อหาที่เราจะพูดถึงหลักๆ ในวันนี้ก็จะเป็นการเรียนรู้ความแตกต่างระหว่าง “ดอกเบี้ยคงต้น” กับ “ดอกเบี้ยทบต้น” เพื่อให้เข้าใจ และรู้เท่าทันดอกเบี้ย ซึ่งจะทำให้เรานั้นสามารถวางแผนการการเงินได้อย่างดีเยี่ยม ดีกว่าการวางเงินทิ้งไว้เฉยๆ เป็นไหนๆ เลยแหละ

เรามาเริ่มกันที่ “ดอกเบี้ยคงต้น” (Simple Interest) หรือที่หลาย ๆ คนมักจะเรียกติดปากว่า ดอกเบี้ยไม่ทบต้น ซึ่งดอกเบี้ยในลักษณะนี้นั้นจะถูกคิดผลประโยชน์จากเงินต้นแบบคงที่ตลอดระยะเวลาของการลงทุน นั่นหมายความว่า ไม่ว่าเราจะออมเงินมากี่ปีก็ตามแต่ เราก็จะได้ผลประโยชน์เท่ากันทุกปีตลอดเวลาการฝากเงินนั้นๆ นั่นเอง

ถ้าจะให้ยกตัวอย่างให้เห็นภาพแล้วล่ะก็ การคิดดอกเบี้ยคงต้นจากการที่เรานำเงิน 10,000 บาท ไปฝากที่ธนาคาร ภายใต้ข้อตกลงให้ดอกเบี้ย 3% ต่อปี นั่นแปลว่าแต่ละปีเราจะได้ดอกเบี้ยเป็นเงิน 300 บาท ซึ่งหากเราฝากเงินในบัญชีดังกล่าวไว้ทั้งสิ้น 10 ปี นั่นก็จะหมายความว่า เราจะได้ดอกเบี้ยทั้งสิ้น 300 x 10 หรือ 3,000 บาทนั่นเอง เท่ากับว่าหลังสิ้นปีที่ 10 เราจะมีเงินในบัญชีอยู่ที่ 10,000 + 3,000 = 13,000 บาท

ต่อมาก็ถึงตาพระเอกของเราอย่าง “ดอกเบี้ยทบต้น” (Compound Interest) ที่พลังของมันนั้นมหาศาลถึงขั้นที่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ยกย่องให้เป็นสิ่งมหัศจรรย์อันดับที่ 8 ของโลกเลยทีเดียวเชียว

แล้วดอกเบี้ยทบต้นนั้นพิเศษอย่างไร?

ลักษณะการทำงานของดอกเบี้ยทบต้นนั้นถือเป็นตัวช่วยที่ดีในการทำให้เงินลงทุนของเราเติบโตอย่างก้าวกระโดด 📈 เพราะเป็นการคิดคำนวณดอกเบี้ยโดยการนำดอกเบี้ยที่ได้ในแต่ละงวดมารวมเป็นเงินต้นของงวดต่อๆ ไปในอนาคต ซึ่งก็เป็นที่มาขอคำว่า “การทบเงินต้น” นั่นเอง เท่ากับว่า ยิ่งเราออมเงินนานมากเท่าไหร่ ดอกเบี้ยที่ได้รับก็จะยิ่งสูงขึ้นตามไปเสมอ

สำหรับตัวอย่างของการคิดดอกเบี้ยทบต้นในชีวิตจริงจากการที่เรานำเงิน 10,000 บาท ไปฝากที่ธนาคาร ภายใต้ข้อตกลงให้ดอกเบี้ย 3% ต่อปี ถึงมองเผินๆ แล้วก็ดูคล้ายกับตัวอย่างข้างบน แต่รับรองได้เลยว่าผลที่ได้นั้นแตกต่างอย่างแน่นอน เพราะหลังจากที่เราก้าวผ่านปีที่ 2 เงินต้นของเราจาก 10,000 จะแปรเปลี่ยนเป็น 10,609 บาท ซึ่งหมายความว่าในปีที่ 2 นี้ ดอกเบี้ยที่เราจะได้รับก็จะสูงขึ้นกว่าดอกเบี้ยแบบคงต้นจาก 600 บาท เป็น 609 บาทในทันที 

และถ้าหากฝากในระยะเวลา 10 ปี เช่นเดียวกับตัวอย่างข้างบน เงินทั้งหมดที่เราจะมีเมื่อครบ 10 ปี ก็จะเป็นจำนวน 13,439.16 บาท มากกว่าแบบดอกเบี้ยคงต้นถึง 400 กว่าบาทเลยนะ

เป็นไงล่ะ ได้เห็นได้ถึงความแตกต่างแล้วใช่ไหม แล้วลองคิดต่อว่าหากเราฝากโดยรับผลประโยชน์แบบทบต้นในระยะเวลา 20 ปี ล่ะ เงินจะมากกว่ากันขนาดไหน? 😲
 
เป็นยังไงกันบ้าง หลังจากรู้จักความแตกต่างของดอกเบี้ยทบต้น และไม่ทบต้นแล้ว พอจะเห็นภาพเลยใช่ไหมว่าจะวางแผนการเงินอย่างไรให้มีเงินก้อน

แต่คนที่มีกำลังทรัพย์ไม่มาก อย่าเพิ่งน้อยใจไปล่ะ ไม่ว่าจะเก็บเงิน 1,000 บาท 10,000 บาทหรือว่าเงิน 100,000 บาทก็เริ่มต้นจากบาทแรกด้วยกันทั้งนั้น ขอให้มองข้ามการมีมากมีน้อย และหันมาเก็บเล็กผสมน้อยเพื่ออนาคตกันดีกว่า ที่สำคัญคืออย่าลืมใช้ประโยชน์จาก “ดอกเบี้ย” ก็พอ! 😉



บทความ: MULA Learning
รูปประกอบ: MULA Learning

 

 

 

รับมูลาคอยน์เลย

  • แชร์