การค้นหาแบบครอบคลุมทั้งหมดยังไม่ได้เปิดใช้งาน
ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Blog entry by Anuntapong Chuen-im

หัวใจเต้นเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม

หัวใจเต้นเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม

ไม่ว่าเราจะทำกิจกรรมใด ๆ ก็ตาม อวัยวะหนึ่งที่ทำงานโดยไม่ได้หยุดหย่อนคือ หัวใจ ที่คอยสูบฉีดเลือดให้ไหลเวียนไปตามร่างกายให้เป็นปกติ บางเวลาหัวใจอาจจะเต้นช้า หรือเร็วขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ทำ หรือปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้แต่ละบุคลลมีอัตราการเต้นของหัวใจที่ไม่เท่ากัน แต่เรารู้มากน้อยแค่ไหนว่า อัตราการเต้นของหัวใจที่เหมาะสมคือเท่าไหร่ และแบบที่เรียกได้ว่าผิดปกติ วันนี้มูลามาสรุปเรื่องนี้ให้เพื่อน ๆ เข้าใจง่าย ๆ กันเลย

 

อัตราการเต้นของหัวใจของแต่ละช่วงอายุควรเป็นเท่าไหร่

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ Hdmall.co.th ค่าอัตราการเต้นของหัวใจมีค่าเป็นจำนวนครั้งต่อนาที โดยค่านี้จะแตกต่างไปตามอายุ โรคประจำตัว พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และปัจจัยอื่น ๆ
              หลัก ๆ แล้ว แต่ละช่วงวัยควรมีอัตราการเต้นของหัวใจตามรูปแบบดังนี้

ทารกแรกเกิด – 1 เดือน : 120-160 ครั้งต่อนาที

อายุ 1-12 เดือน : 80-140 ครั้งต่อนาที

อายุ 12 เดือน – 2 ปี : 80-130 ครั้งต่อนาที

อายุ 2-6 ปี : 75-120 ครั้งต่อนาที

อายุ 6-12 ปี : 75-110 ครั้งต่อนาที

วัยรุ่น-วัยผู้ใหญ่ : 60-100 ครั้งต่อนาที

ถ้าในกรณีที่เราออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมอย่างหักโหม อัตราการเต้นของหัวใจก็จะเพิ่มสูงขึ้นได้มากกว่าอัตราปกติข้างต้น

 

อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดคืออะไร

สำหรับเพื่อน ๆ ที่ชอบออกกำลังกายคงเคยได้ยินเรื่องอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด (Max Heart Rate) และ อัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมาย (Target Heart Rate Zone) กันมาบ้าง ถ้าอยากให้การออกกำลังกายมีประสิทธิภาพ ควรตรวจดูอัตราการเต้นของหัวใจว่าเข้าข่าย 2 คำด้านบนหรือไม่

อ้างอิงข้อมูลจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อัตราการเต้นของหัวใจใช้เป็นตัวกำหนดความหนักเบาของการออกกำลังกายได้ โดยเราต้องรู้ว่าอัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมาย และอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดเป็นเท่าไหร่ สูตรในการคำนวณคือ

อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด =220-อายุ

อัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมาย = อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด x (เปอร์เซ็นต์ความหนักในช่วงที่ต้องการ / 100)

หากเราต้องการให้ร่างกายได้ออกกำลังกายระดับปานกลาง เพื่อความแข็งแรงของร่างกายและลดน้ำหนักตัว เราควรออกกำลังกายให้อัตราการเต้นของหัวใจให้อยู่ที่ 60-80% ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด เช่น

อายุปัจจุบัน = 30
              อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด =220-30 =190 ครั้ง/นาที

อัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมาย = 220 * (80/100) = 176 ครั้ง/นาที และ = 220 * (60/100) = 132 ครั้ง/นาที

เพราะฉะนั้น ต้องออกกำลังกายให้อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ระหว่าง 132 – 176 ครั้ง/นาที

หากเราต้องการให้ร่างกายได้ออกกำลังกายระดับหนัก เหมาะสำหรับนักกีฬา เราควรออกกำลังกายให้อัตราการเต้นของหัวใจให้อยู่ที่ 80-100% ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด เช่น

อายุปัจจุบัน = 30
              อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด =220-30 =190 ครั้ง/นาที

อัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมาย = 220 * (80/100) = 176 ครั้ง/นาที

เพราะฉะนั้น ต้องออกกำลังกายให้อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ระหว่าง 176 - 190 ครั้ง/นาที

 

 

 

 

อัตราการเต้นของหัวใจที่เร็วเกินไปหรือช้าเกินไปจะมีปัญหาอะไรหรือไม่

ถ้าเพื่อน ๆ คนไหนลองสังเกตดูแล้วพบว่ามีอัตราการเต้นของหัวใจที่เร็วกว่าหรือช้ากว่าปกติ จะเป็นสัญญาณของความผิดปกติอะไรหรือไม่ อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์พบแพทย์ (Pobpad.com) อัตราการเต้นของหัวใจที่เร็วเกินไป อาจเข้าข่ายภาวะหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ (Tachycardia) ซึ่งภาวะนี้ไม่ได้เป็นอันตรายหรือโรคร้ายเสมอไป อาจเกิดขึ้นได้ชั่วคราว เช่น เมื่อออกกำลังกาย รู้สึกตื่นเต้น รู้สึกกลัว ภาวะนี้อาจส่งผลให้เกิดอาการเวียนศีรษะ เป็นลม รู้สึกใจสั่น เจ็บหน้าอก หายใจถี่ หรืออ่อนเพลียได้ อีกทางหนึ่งหากหัวใจเต้นช้าเกินไป จะเรียกว่าภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (Bradycardia) อาจไม่ใช่สัญญาณของโรคร้ายเสมอไปเช่นกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เพื่อน ๆ ควรปรึกษาแพทย์ ตรวจสุขภาพหัวใจอย่างสม่ำเสมอ เผื่อว่ามีภาวะอะไรที่น่ากังวลจะได้รักษาได้ทันท่วงที

 

              หลังจากอ่านบทความนี้แล้วเพื่อน ๆ น่าจะเข้าใจเรื่องอัตราการเต้นของหัวใจและวิธีการใช้อัตราการเต้นของหัวใจเพื่อการออกกำลังกายให้เต็มประสิทธิภาพกันมากขึ้น เพราะฉะนั้นอย่าลืมหมั่นสังเกตุตัวเอง และพบแพทย์เมื่อเจออาการผิดปกติด้วยนะ จะได้ดูแลร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุขภาพหัวใจให้อยู่กับเราไปนาน ๆ อย่างไรล่ะ

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://hdmall.co.th/blog/health/target-heart-rate-zones/

https://www.si.mahidol.ac.th/Th/healthdetail.asp?aid=1498

https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/max-heart-rate

https://www.bangkokhearthospital.com/content/arrhythmia-or-tachycardia-redirect

https://www.thairath.co.th/lifestyle/health-and-beauty/2702447

https://www.pobpad.com/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%88-%E0%B9%80%E0%B8%97

https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%A7/

 

บทความ: MULA Learning
รูปประกอบ: MULA Learning

 

  • แชร์