Global searching is not enabled.
Skip to main content

Blog entry by Anuntapong Chuen-im

วางแผนเกษียณอย่างไร ให้มีเงินใช้ไม่ขาดมือ

 

พูดถึงการ “วางแผนเกษียณ” แล้ว หลายๆ คนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างไกลตัวมาก ก็กว่าจะถึงวัย 60+ คงอีกนานเลยใช่ไหมล่ะ แต่แท้ที่จริงวัยเกษียณนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ว่าใครก็ตามไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ยังไงสักวันช่วงเวลาเหล่านั้นก็ต้องมาถึง เพราะฉะนั้นการที่เราเตรียมตัวรับมือสถานการณ์ที่จะต้อง “ใช้แต่เงินเก็บ” โดยไม่ให้เดือดร้อนทั้งตัวเอง และคนรอบตัวตั้งแต่เนิ่นๆ ในวันที่ยังมีทั้งแรงกาย และแรงใจ ก็ต้องเป็นเรื่องดีกว่าค่อยไปคิดเอาในวันที่สายอยู่แล้วแหละ

 

แต่เอ๊ะ!? แล้วเราควรจะเริ่มจากตรงไหน และต้องทำอะไรบ้าง? วันนี้เรามีคำตอบมาให้คุณแล้ว!


สำหรับสิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงในการวางแผนระยะยาวแบบนี้ก็คือ เข้าใจหัวใจสำคัญของการวางแผนสำหรับการเกษียณเสียก่อน เพราะหากไม่รู้ว่าจะวางแผนแบบนี้ไปทำไม และเป้าหมายของแผนคืออะไร เราก็คงไม่จริงจังกับมันนักใช่ไหมล่ะ ซึ่งสาเหตุสำคัญที่เราต้องคิดให้ถี่ถ้วนถึงแนวทางการใช้ชีวิตในวัย 60+ ก็เหมือนดังที่กล่าวไว้ข้างต้นของบทความนี้นั่นก็คือการต้อง “ใช้แต่เงินเก็บ” เป็นหลัก โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เราชีวิตเกษียณอย่างเกษม หรือพูดง่ายๆ ก็คือมีเงินใช้ไม่ขาดมือนั่นแหละ เพราะถ้ามาเงินหมดเอาตอนอายุมากๆ เข้า จะเอาแรงที่ไหนไปทำงานล่ะ ถูกไหม?

 

นอกจากนี้สิ่งที่ใครหลายๆ คนอาจมองข้ามไปคือเรื่องของ “ค่าใช้จ่าย” เพราะเมื่อเราอายุมากเข้า สุขภาพก็ไม่ได้แข็งแรงเหมือนสมัยเป็นหนุ่มสาว ฉะนั้นความเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บก็จะเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายที่ยากจะหลีกเลี่ยง และนี่เป็นเพียงรายจ่ายประเภทเดียวเท่านั้นนะ ไหนจะค่ากิน ค่าเสื้อผ้า ค่าของที่มันต้องมีอีก ตอนนี้พอจะเห็นภาพแล้วใช่ไหมว่าชีวิตหลังวัยเกษียณนั้นต้องใช้เงินเยอะมากแค่ไหน

 

ปัจจัยสำคัญลำดับถัดมา คือการกำหนดอายุที่เราจะเกษียณ รวมไปถึงจำนวนปีที่คิดว่าจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณ ซึ่งควรคิดไว้ให้มากกว่าความเป็นจริงสักหน่อย เพราะบางครั้งเราอาจจะอายุยืนกว่าที่เราคิดก็เป็นได้ โดยทั้งสองส่วนประกอบข้างต้นนี้จะมีผลโดยตรงต่อจำนวนเงินที่เราต้องเก็บเอาไว้ และจะต้องเก็บปีละเท่าไหร่ เก็บไปอีกกี่ปี ถือว่ามีส่วนสำคัญในการทำให้แผนการของเรายิ่งชัดเจนยิ่งขึ้นนั่นเอง

 

มาถึงตรงนี้อาจมีคำถามที่ว่า “แล้วเราควรต้องมีเงินเท่าไหร่จึงจะพอใช้แบบสบายๆ ไปตลอดชีวิต?” ซึ่งแท้ที่จริงมันก็ขึ้นอยู่กับแต่ตัวละบุคคลเลย เพราะความจำเป็นของเรานั้นต่างกัน แต่เพื่อให้สามารถเห็นภาพได้กว้างขึ้น คนส่วนใหญ่จะมักคำนวณตามสูตรข้างล่างนี้

 

จำนวนเงินที่ควรมีตอนเกษียณ = ค่าใช้จ่ายต่อปีหลังเกษียณ x จำปีที่คิดว่าจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณ

 

ยกตัวอย่างเช่น ปัจจุบันเรามีอายุ 35 ปี ต้องการจะเกษียณตอนอายุ 60 ปี และคาดว่าจะมีอายุขัย 85 ปี นั่นหมายความว่า เรามีระยะเวลาในการเก็บเงิน 25 ปี เพื่อไว้ใช้หลังเกษียณในระยะเวลา 25 ปี โดยเรานั้นอยากจะมีเงินใช้เดือนละ 8,000 บาท หรือคิดเป็นปีละ 96,000 บาท นั่นแปลว่าจำนวนเงินที่ควรมีตอนเกษียณจะได้เป็น 300,000 บาท x 25 ปี = 2,400,000 บาท เป็นต้น ซึ่งนี่ถือเป็นสมการง่ายๆ ที่ทำให้เราเห็นภาพรวมของแผนการได้ชัดเจนขึ้น แต่ถ้าอยากให้การคำนวณดังกล่าวแม่นยำขึ้นอีก ก็อย่าลืมใส่อัตราเงินเฟ้อเข้าไปด้วยล่ะ

 

และสำหรับคนที่กลัวว่าอาจจะมีเรื่องไม่คาดฝันที่เข้ามาทำให้แผนที่เราวางไว้พังไม่เป็นท่า ก็อย่าลืมว่าเราต้องเตรียมทางออกฉุกเฉินเอาไว้เสมอ นั่นก็คือการศึกษาถึงแหล่งเงินได้หลังเกษียณ โดยสำหรับมนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ แล้วการซื้อกองทุนรวม หรือการลงทุนผ่านพันธบัตรรัฐบาล ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ปลอดภัย แต่ได้ผลดีไม่ใช่น้อย

 

ทั้งนี้ในด้านของการซื้อประกันชีวิต และสุขภาพก็ถือเป็นอีกสิ่งที่ควรจะคิดเอาไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะจะช่วยทุ่นค่าใช้จ่ายไปได้มากเลยทีเดียวเชียว อย่าให้เงินที่อุตส่าห์เก็บออมไว้ใช้จ่ายหลังเกษียณต้องมาหมดไปกับค่ารักษาพยาบาลเลยนะ

 

สุดท้ายนี้ แผนการเกษียณที่บอกมาทั้งหมดข้างต้นจะไม่ทางเกิดขึ้นได้เลย หากเราไม่เริ่มลงมือทำเสียตั้งแต่วันนี้ เพื่อความมั่นคงของวันข้างหน้า ได้รู้แบบนี้แล้ว ก็คงถึงเวลาที่เราจะหันมามีวินัยกับการใช้จ่ายต่างๆ เพื่อสร้างชีวิตเกษียณอย่างเกษม ที่ไม่เดือดร้อนทั้งกับตัวเองและผู้อื่นกันสักที

 

บทความ: MULA Learning
รูปประกอบ: MULA Learning

 

  • Share