Global searching is not enabled.
Skip to main content

Blog entry by Anuntapong Chuen-im

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการเก็บออม

การเก็บออมนับเป็นบันไดขั้นแรก ๆ ในการสร้างความมั่นคงและมั่งคั่งทางการเงิน หากเก็บออมยังไม่ได้นั่นอาจหมายความว่า เรายังไม่สามารถจัดการเงินสำหรับรายรับ รายจ่ายไม่เหมาะสมอยู่นั่นเอง แม้การเก็บออมจะสำคัญมากขนาดไหน หลาย ๆ คนก็ถือเอาการเก็บออมเป็นวิถีทางการเงินทางเดียว ไม่ได้นำเงินไปให้งอกเงยในวิธีการอื่น ๆ  

 

วันนี้มูลาพามาดูความเข้าใจผิดหลัก ๆ เกี่ยวกับการออมเงิน เพื่อให้บันไดสู่ความมั่งคั่งของเพื่อน ๆ มั่นคงกันนะ 

 

  1. การออมเงินมีวัตถุประสงค์อยู่อย่างเดียวคือ เพื่อการเกษียณ 

การเก็บเงินเพื่อการเกษียณเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพราะเราไม่สามารถทำงานหาเงินไปได้ตลอดชีวิต เพราะฉะนั้นจะต้องมีเงินก้อนหนึ่งเอาไว้ใช้จ่าย อย่างน้อยก็เพื่อรักษาตัว หรือเข้าโรงพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย  

 

จริงอยู่ที่เราต้องมองการณ์ไกล แต่ว่าการเก็บออมนั้นเราสามารถใช้ได้กับเป้าหมายอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายระยะสั้น (0 – 6 เดือน เช่น เก็บเงินซื้อของขวัญให้ลูก เก็บเงินซื้อของที่จำเป็นต่างๆ รวมทั้งเป้าหมายระยะกลาง (6 เดือน – 3 ปี) เช่น เก็บเงินไปเที่ยวต่างประเทศกับครอบครัว เก็บเงินเพื่อแต่งงาน เป็นต้น เพราะฉะนั้นการออมของเราควรจัดเป็นประเภทเป้าหมาย ไม่เก็บออมรวมกัน หรือมีแค่เป้าหมายเพื่อการเกษียณเท่านั้น เพราะเราทุกคนมีโอกาสที่จะต้องใช้เงินตลอดเวลา  

 

นอกจากนี้เมื่อเราแบ่งแยกการเก็บเงินตามเป้าหมายแล้ว เรายังจะสามารถควรเลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงิน หรือที่เก็บเงินของเราที่เหมาะสมอีกด้วย ซึ่งจะเล่าในข้อถัดไป 

 

  1. การออมเงินสามารถทำได้ในบัญชีเงินฝากเท่านั้น  

ตามที่เกริ่นมาในข้อก่อนหน้านี้ เราควรเลือกเก็บเงินกระปุกต่างตามเป้าหมายหรือระยะเวลาในการใช้อีกด้วย ถ้าเป็นการเก็บเงินระยะสั้น ควรเก็บในที่มีสภาพคล่อง หรือที่ที่เราสามารถถอนมาใช้ได้ง่ายหรือตามกำหนดเวลาต่าง ๆ เช่น บัญชีออมทรัพย์ บัญชีฝากประจำตามระยะเวลา เป็นต้น หรือถ้าเป็นเป้าหมายระยะกลาง อาจะเหมาะกับ บัญชีฝากประจำ กองทุนรวม พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ ที่ให้ดอกเบี้ยมากกว่าบัญชีออมทรัพย์ธรรมดา ส่วนการเก็บเงินเพื่อการเกษียณ ถ้าอีกนานเลยกว่าเราจะเกษียณ ระยะเวลา 10 ปี 20 ปี แบบนี้เท่ากับว่าเรามีระยะเวลาสะสมเงินได้เยอะ อาจนำเงินออมของเราไปลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ให้ผลตอบแทนสูงขึ้น แต่มีความเสี่ยงสูงขึ้นตาม เช่น หุ้น กองทุนรวม ETF ฯลฯ  

 

ถ้าเราเลือกแหล่งเก็บเงินออมของเราให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ เราก็สามารถทำให้เงินนั้นงอกเงยได้นั้นเอง หรือแบบที่หลาย ๆ คนพูดว่า ให้เงินทำงาน นั่นเอง ถ้าเราเก็บเงินไม่ถูกที่ก็เท่ากับว่าเราเสียโอกาสที่จะทำให้เงินของเรางอกเงยนะ ทั้งนี้ทั้งนั้น การลงทุนทุกอย่างเราควรศึกษาให้รอบคอบ มีโอกาสหรือความเสี่ยงที่เงินต้นไม่ครบหรือเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้นะ เราคงไม่อยากเสียเงินออมของเราที่หามาได้ด้วยความยากลำบากหรอกนะ 

 

  1. การออมเงินควรทำเมื่อนำรายจ่ายลบรายรับแล้วเท่านั้น 

ข้อนี่เป็นจุดเริ่มต้นของการออมเลยก็ว่าได้  

สมการการออมที่ถูกต้องนั้นต้องเป็นแบบนี้ 

 

รายรับ เงินออม = รายจ่าย 

 

หากเรามัวแต่คิดว่าจะออมได้ก็ต่อเมื่อเราจ่ายไปหมดแล้ว ส่วนที่เหลือคือการออม ไม่รู้ว่าเราจะได้เริ่มออมกันเมื่อไหร่ จริงไหม  

ลองเปลี่ยนวิธีดูนะ ว่าเรามีรายรับก่อนหนึ่ง อย่าเพิ่งจ่ายให้คนอื่น จ่ายให้อนาคตทางการเงินของตัวเอง เป็นเงินออมก้อนเล็ก ๆ แต่สม่ำเสมอ หลังจากนั้น จึงนำส่วนที่เหลือไปจ่ายคนอื่นเป็นรายจ่ายต่าง ๆ นี่แหละที่จะทำให้เราเริ่มออมเงินได้จริงจังซักที นอกจากนี้ยังมีเทคนิคการออมอื่น ๆ ที่เราลองนำมาใช้ได้ เช่น เก็บธนบัตร 50 บาทเพื่อการออมเท่านั้น หรือเก็บเงินออมตามเลขวันที่จนครบเดือน  เพื่อน ๆ ลองเลือกเทคนิคการออมที่เหมาะสมกับตัวเราได้เลยนะ 

 

เป็นยังไงกันบ้าง ทีนี้เพื่อน ๆ ก็รู้แล้วนะว่าการออมเป็นมากกว่าการเก็บเงิน เราต้องรู้แหล่งเก็บเงิน วัตถุประสงค์ในการเก็บเงิน หรือวิธีการในการเก็บเงิน มูลาเป็นกำลังใจให้เพื่อน ๆ เก็บออมมาก ๆ ได้ตามที่ตั้งใจไว้นะ  

 

บทความ: MULA Learning
รูปประกอบ: MULA Learning

 

  • Share