Global searching is not enabled.
Skip to main content

Blog entry by Anuntapong Chuen-im

8 วิธีช่วยคนรอบข้างให้เลิกเหล้าได้อย่างเห็นผล

การ “ติดเหล้า” หรือให้พูดเป็นภาษาทางการว่าเป็น “โรคพิษสุราเรื้อรัง” เป็นสภาวะที่บุคคลประสบปัญหาในการควบคุมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือหมกมุ่นอยู่กับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้ต้องดื่มอย่างต่อเนื่อง นั้น นอกจากจะเป็นเรื่องร้ายแรงต่อบุคคลที่เป็นโรคดังกล่าว เพราะส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น ความเสี่ยงจากการเกิดมะเร็ง เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งที่ปาก มะเร็งที่คอ หรือหลอดอาหาร รวมไปถึงโรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม หรือแม้โรคหลอดเลือดสมอง มันยังถือเป็น “เนื้อร้าย” ที่คอยกัดกิน และบั่นทอนตัวเราและครอบครัว อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกด้วย

 

นอกจากการติดเหล้าจะเป็นผลเสียต่อคนดื่ม แล้วยังเป็นผลเสียต่อคนรอบข้าง เช่น เมื่อเหล้าเข้าปากแล้ว ผู้ดื่มก็จะขาดสติ ส่งผลให้มีอารมณ์หงุดหงิด กระวนกระวาย สมองสับสน หูแว่ว ประสาทหลอน และนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ หรือแม้แต่การทำร้ายร่างกายคนใกล้ชิด นอกจากนี้ เรื่องของการเงินเจ้าเรื่องเหล้าเองก็มีความเสียหายไม่แพ้กัน เพราะว่าจะดื่มเหล่าแต่ละครั้ง ก็ต้องใช้เงินไม่น้อยเลยใช่ไหมล่ะ? ซึ่งเรื่องทั้งหมดทั้งมวลนี้เองได้ทำให้สภาพแวดล้อมในบ้านเกิดความตึงเครียด และจะลามไปถึงการหย่าร้าง หรือบ้านแตกในที่สุด

 

อย่างไรก็ตาม แม้รู้ว่าการติดเหล่าจะเป็นเรื่องที่ไม่ดี แต่ถ้า “เลือกได้” แล้วล่ะก็... คนเราก็คงไม่มีใครอยากจะติดเหล้าอย่างแน่นอน แถมนอกจากนี้หากเพื่อน ๆ มีคนที่รักตกอยู่ในสภาวะดังกล่าว คุณก็จะรู้ดีเลยว่า การ “เลิกเหล้า” นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยแม้แต่น้อย ไม่อย่างนั้นเราก็คงไม่เห็นข่าวเกี่ยวกับโรคพิษสุราเรื้อรังเหล่านี้อยู่แทบจะตลอดเวลาหรอก

 

ดังนั้น เพื่อเป็นอีกแรงที่สนับสนุนให้ครอบครัวที่ประสบปัญหาข้างต้นมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น มูล่าจึงได้รวบรวมวิธีการเพื่อ “สนับสนุน” คนรอบข้างที่ติดเหล้า และช่วยควบคุมพฤติกรรมของเขาให้ลดลงได้ มาไว้ให้เพื่อน ๆ แล้ว

 

เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรามาดูกันดีกว่าว่าเราจะ “ช่วยเหลือ” คนที่เรารักจากโรคพิษสุราเรื้อรังได้อย่างไรบ้าง

 

วิธีที่ 1 : เปิดอกพูดคุยกันให้มากขึ้น

การเปิดอกพูดกันอย่างตรงไปตรงมานั้น แม้จะเป็นการสนทนาที่ดูกระอักกระอ่วน และสร้างความไม่สบายใจทั้งสำหรับคุณ และผู้ดื่ม แต่มูล่าขอบอกเลยว่ามันเป็นการสนทนาที่จำเป็นเอาเสียมาก ๆ เพราะในความเป็นจริงแล้ว การที่บทสนทนาเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้มันก็จะมาจากการมี “ความหวัง” ว่าคนที่เรารักและเป็นห่วง จะสามารถ “ดีขึ้นได้” นั่นเอง โดยหากเราเอาแต่หวังในใจ และไม่พูดออกไปแล้วล่ะก็... คนที่คุณเป็นห่วงจะไม่มีวันรู้ว่าคุณเป็นห่วง และเชื่อมั่นว่าเขาจะเอาชนะภาวะการติดเหล้าได้เลยแม้แต่น้อย

 

ทั้งนี้ในเชิงจิตวิทยา เพื่อน ๆ สามารถเรียกการใช้บทสนทนานี้ว่า "การแทรกแซง" ซึ่งเป็นเทคนิคในการเข้ามา “ก้าวก่าย” ในชีวิตหรือพฤติกรรมของบุคคลโดยหวังว่าจะเปลี่ยนพฤติกรรมหรือผลลัพธ์ของสิ่งที่เราเห็นจนชินตานั่นเอง โดยเราสามารถชี้ให้คนใกล้ชิดเห็นได้ว่าชีวิตของเขาจะดีขึ้นได้ แต่ตัวเขาเองต้องบางอย่างเพื่อยุติพฤติกรรมเหล่านี้

 

โดยการแทรกแซงผ่านการเปิดอกคุยนั้น ทำได้ทั้งการพูดแบบตรง ๆ ไม่อ้อมค้อมกับผู้ติดเหล้า หรือแม้แต่การนำพาเพื่อน ๆ หรือคนรอบตัวหลาย ๆ คนมาช่วยพูดเกลี่ยกล่อมให้ผู้ติดเหล้าคิดที่จะเลิกเหล้า เป็นต้น ซึ่งวิธีการนั้นก็จะขึ้นอยู่กับความใกล้ชิด หรือสถานะของผู้พูด กับเหล่านักดื่ม นั่นเอง แต่อย่างไรก็ตามผลลัพธ์ที่ต้องการก็เหมือนกัน นั่นก็คือเราต้องแสดงออกว่าเราได้ให้ความสนใจกับปัญหาด้านการดื่มของคนที่คุณรัก ชี้ให้เห็นว่าเรามีความวิตกกังวล และหวังว่าพวกเขาจะเข้าใจว่าความกังวลของคุณมาจากไหน รวมไปถึงทำให้เขารู้ว่าเราเชื่อมั่นว่าเขาดีขึ้นได้อีกด้วย

 

อย่างไรก็ตาม มูล่าขอแนะนำว่า ให้เลือกช่วงเวลาที่จะพูดเรื่องดังกล่าวนี้เป็นช่วงที่คนใกล้ชิดของเราไม่ได้ดื่มเหล่าอยู่จะดีที่สุดนะ นอกจากนี้ก่อนที่จะเผชิญหน้ากับใครบางคนอย่างจริงจังเกี่ยวกับการติดแอลกอฮอล์ เราต้องให้ใช้เวลาคิดถึงเหตุผลที่คุณมีความกังวลอย่างละเอียดถี่ถ้วน ไม่ใช่ว่านึกอยากจะพูดอะไรก็พูด แต่เราต้องเตรียมตัวให้พร้อมที่จะพูดความในใจอย่างชัดเจน เพราะหากคุณบอกว่าคุณกังวลแต่ไม่มีเหตุผลที่ฟังขึ้นแล้วล่ะก็... จากหน้ามือจะกลายเป็นหลังมือในทันที เพราะคนที่คุณรักจะไม่จริงจังกับสิ่งที่เพื่อน ๆ พูดนั่นเอง

 

วิธีที่ 2 : สร้างความสบายใจ ทำให้ผู้ดื่ม กล้าที่จะพูดถึงต้นตอของการติดเหล้า

ในความเป็นจริงแล้ว การที่คน ๆ หนึ่งจะหันมาพึ่งพาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จนถึงขึ้น “ติด” และพัฒนาจนกลายเป็นโรคเรื้อรังนั้น ไม่ได้เกิดมาจาก “ความชอบดื่ม” เพียงอย่างเดียวอย่างแน่นอน แต่ทว่าคนสวนมากที่ตกอยู่ในสภาวะเหล่านี้มักจะต้องต่อสู้กับภาวะซึมเศร้าหรือวิตกกังวล ไม่ว่าจะทั้งจากอุปสรรคในการใช้ชีวิต หรือแม้แต่การเป็น “โรคซึมเศร้า” โดยที่ไม่รู้ตัว ซึ่งพอเขาเหล่านั้นหาทางออกไม่ได้ ก็จะหันมาใช้การดื่มเพื่อ “เยียวยาจิตใจ” และบำบัดตนเองให้มีความสุขมากขึ้น ยังไงล่ะ

 

ดังนั้น สิ่งที่คนรอบตัวอย่างเรา ๆ ควรทำ เมื่อมีคนใกล้ชิดติดเหล้า ก็คือ การทำให้เขาสบายใจที่สุดที่จะพูดถึงปัญหาที่อัดอั้นตันใจออกมาให้หมด (ซึ่งส่วนมากก็จะเป็นต้นตอของการดื่มนี่แหละ) และช่วยเหลือเขาเอาชนะปัญหาเหล่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ดื่มเครียดเรื่องการเงิน เราก็สามารถแนะนำวิธีการจัดการเงินให้มีประสิทธิภาพกับเขาได้ หรือหากผู้ดื่มมีแนวโน้มเป็นโรคซึมเศร้าโดยไม่รู้ตัว การแนะนำให้ไปพบแพทย์เฉพาะทางก็จะสามารถแก้ปัญเหล่านี้ได้ตรงจุดนั่นเอง

 

วิธีที่ 3 : อย่ายื่นคำขาด

บ่อยครั้ง คนที่มีปัญหาเรื่องการดื่มจะเลือกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าทางเลือกอื่น ๆ ในการหลีกหนีปัญหา แต่ทว่าเจ้าเครื่องดื่มเหล่านี้กลับเป็นตัวส่งผลให้เกิดความเครียด ความหงุดหงิด และความเจ็บปวดมากขึ้น ซึ่งนั่นแปลว่าหากเราเลือกที่จะยื่นคำขาด ว่าเขาต้องเลิกดื่ม ณ ตอนนี้ เดี๋ยวนี้ จะเปรียบเสมือนการ “ซ้ำเติม” ซึ่งจะเป็นผลให้เขาดื่มมากขึ้นตามไปด้วย

 

วิธีที่ 4 : อย่าตัดสิน หรือพูดจาดูถูกให้เจ็บใจ

การทำให้คนติดเหล้ารู้สึกอับอายมากขึ้นหรือลดความนับถือตนเองลง นั้นก็ไม่ใช้วิธีการที่จะสร้างผลดีในสถานการณ์เช่นนี้ เพราะเมื่อคนที่คุณรักกำลังดิ้นรนกับสภาวะติดเหล้า ไม่เพียงแต่ตัวคุณเองจะไม่เคยเข้าใจว่าการติดเหล้ามันเป็นอย่างไรแล้ว การที่เราไปพูดสิ่งที่ไม่ควรพูดจะเป็นการเพิ่มปัญหาเข้าไปเสียด้วยซ้ำ ซึ่งการไปพูดจิกกัด พูดแซะ และทำให้คนเหล่าอับอายยิ่งเป็นการกระตุ้นให้พวกเขาหันไปใช้สิ่งที่ปิดบังอารมณ์อย่างเหล้ามากขึ้นเข้าไปอีก ดังนั้นเราต้องจำให้ขึ้นใจว่าโรคพิษสุราเรื้อรัง เป็น “โรค” หากคุณไม่เคยผ่านมันมา ก็พยายามอย่าตัดสินสิ่งใด ๆ เกี่ยวกับโรคนี้เลยแม้แต่น้อย ถ้าหากเราใจเย็นไม่พอ ก็ควรปล่อยให้ผู้เชี่ยวชาญจัดการจะดีกว่า

 

วิธีที่ 5 : ให้ นักดื่มพูดคุยกันเอง

ถ้าเพื่อน ๆ เกิดบังเอิญไปรู้จักใครก็ตามที่สามารถเลิกเหล้า เลิกดื่มได้สำเร็จ เราก็ควรไปพูดคุยกับพวกเขา ถามพวกเขาว่าในที่สุดพวกเขาจัดการกับปัญหาของพวกเขาได้อย่างไร และครอบครัวของเขาช่วยเหลือเขาอย่างไรในตอนแรก แน่นอนว่าสิ่งที่ใช้ได้ผลกับคนคนเดียวอาจไม่ได้ผลกับทุกคนเสมอไป อย่างไรก็ตาม หากคุณคิดว่าประสบการณ์ของพวกเขาฟังคล้ายกับประสบการณ์ของคนที่คุณรัก ให้ถามพวกเขาว่าพวกเขายินดีที่จะพูดคุยกับบุคคลนั้นเพื่อคุณหรือไม่ บางครั้งข้อมูล และความห่วงใยที่มาจากคนที่เคยผ่านการบำบัดเหล้ามานั้นมีความหมายมากกว่าการที่มาจากคนที่ไม่รู้เรื่องรู้ราวอย่างเราเสียอีก

 

วิธีที่ 6 : ช่วยคนที่คุณรักแสวงหา ตัวช่วยที่ได้ผล

เคล็ดลับการเลิกเหล้าที่ดีที่สุดนั้น ก็คือการพึ่งพาโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาอย่างดีโดย “ผู้เชี่ยวชาญ” ดังนั้นหากคนที่คุณรักเริ่มมีความคิดที่จะยุติความสัมพันธ์กับเหล้าเพื่อนซี้แล้วล่ะก็... เราก็ควรสนับสนุนเขาโดยการหาโปรแกรมการรักษาที่คุณคิดว่าเหมาะสมมาสนับสนุนเขาอีกทางนั่นเอง

 

วิธีที่ 7 : อย่าดื่มเหล้าให้เขาเห็น

การดื่มเหล้านั้นเป็นเรื่องธรรมดาของสังคมยุคใหม่ไปเสียแล้ว ซึ่งหลายคนก็คงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ไม่เคยดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้มาก่อนในชีวิต อย่างไรก็ตามเมื่อเพื่อน ๆ ต้องช่วยเหลือใครซักคนเกี่ยวกับปัญหาแอลกอฮอล์ที่อาจเกิดขึ้น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อหน้าพวกเขาอย่างเกรงใจจะเป็นผลเสียอย่างมาก เพราะมันจะกระตุ้นให้พวกเขาอยากดื่มยิ่งขึ้น แถมยังทำให้พวกเขาเชื่อว่าคุณไม่ได้จริงจังกับความกังวลของคุณอีกด้วย ดังนั้นถ้าเลี่ยงได้ ห้ามดื่มให้คนที่จะเลิกเหล้ารู้โดยเด็ดขาด

 

วิธีที่ 8 : เอาเหล้าไปให้ห่างมือ

การมีเหล้าอยู่ในบ้านให้หยิบจับได้โดยง่าย ไม่ใช่เรื่องดีสำหรับผู้ที่กำลังพยายามจะเลิกเหล้าเลยแม้แต่น้อย เพราะมันจะทำให้เขาเหล่านั้นหักห้ามใจได้ยากมากเหลือเกิน ดังนั้นเมื่อคุณมีคนใกล้ชิดที่คิดจะเลิกเหล้า การเอาสิ่งเหล้านี้ออกไปจากบ้านให้หมดสิ้นก็ถือเป็นเรื่องที่ควรทำอย่างเร่งด่วน

 

นอกจากนี้ การพาเขาไปอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่สามารถ “กระตุ้น” ให้เกิดอาการ “อยากเหล้า” เช่น การพาไปสถานที่ท่องเที่ยวกลางคืน การพาไปร้านอาหารกึ่งผับ ที่เต็มไปด้วยแสง สี เสียง ก็ถือเป็นอีกเรื่องต้องห้ามในสถานการณ์แบบนี้เช่นเดียวกัน ระวังให้ดีล่ะ!

 

วิธีที่ 10 : คอยให้กำลังใจอย่างสม่ำเสมอ

กำลังใจจากคนรอบข้างนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ไม่ใช่เฉพาะกับแค่คนที่จะเลิกเหล้าเท่านั้นนะ เพราะแม้แต่คนธรรมดาอย่างเรา ๆ หากเจอปัญหาอะไรสักอย่าง เราก็มักจะต้องการได้รับกำลังใจจากคนที่เรารักอยู่เสมอ ดังนั้นหากเพื่อน ๆ อยากช่วยให้คนใกล้ชิดสามารถเลิกเหล้าได้อย่างหายขาดแล้วล่ะก็ อีกสิ่งที่ห้ามลืมเลยก็คือการแสดงออกอย่างชัดเจนให้พวกเขาเห็นว่าคุณภูมิใจในตัวพวกเขา และจะสนับสนุนพวกเขาตลอดการเดินทางครั้งสำคัญครั้งนี้

 

ท้ายที่สุดนี้ มูล่า ก็ขอส่งกำลังใจให้เพื่อน ๆ ที่มีคนที่รัก หรือคนในครอบครัวกำลังประสบกับโรคร้ายโรคนี้นะครับ รับรองได้เลยว่าถ้าเพื่อน ๆ หยิบยกเทคนิคของมูล่าไปใช้แล้วล่ะก็ ปัญหาพิษสุราเรื้อรังของคนรอบข้างของเพื่อน ๆ ต้องดีขึ้นได้อย่างแน่นอนเลย

 

บทความ: MULA Learning
รูปประกอบ: MULA Learning

 

  • Share